ระบบสารสนเทศ(Information systam)
หมายถึง ระบบของการจัดเก็บ, ประมวลผลข้อมูล โดยอาศัยบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินการ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมกับงานหรือภารกิจแต่ละอย่าง
1) องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศเป็นงานที่ต้องใช้ส่วนประกอบหลายอย่าง
ในการทำให้เป็นกลไกในการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ แต่องค์ประกอบสำคัญมี 5 ประการ ดังนี้
1.1) ฮาร์ดแวร์(Hardware)
หมายถึง
เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์รอบข้าง
รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย เช่น
เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดตรวจเมื่อพิจารณาเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งได้ 3 หน่วย ได้แก่ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ได้แก่ แป้นพิมพ์, เมาส์
หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
หน่วยแสดงผล (Output Unit) ได้แก่ จอภาพ, เครื่องพิมพ์
1.2) ซอฟต์แวร์(Software)
หมายถึง ชุดคำสั่งสั่งงานคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งออกได้หลายประเภท เช่น ซอฟต์แวร์ระบบ คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้จัดการระบบคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆที่มีอยู่ในระบบ
1.3) ข้อมูล(Information)
หมายถึง อาจจะเป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบได้
เนื่องจากจะต้องมีการเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิด ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง
มีการกลั่นกรองและตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์ ข้อมูลจึงจะต้องมีมาตรฐาน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้งานในกลุ่มหรือองค์กร
ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
1.4) บุคลากร(Personnel)
บุคลากรในระดับผู้ใช้ ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ
นักวิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม
เป็นองค์ประกอบสำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศ
ยิ่งบุคลากรมีความรู้ความสามารถทางคอมพิวเตอร์มากเท่าใดโอกาสที่จะใช้งานระบบสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพและคุ้มค่ายิ่งมากขึ้นเท่านั้น
โดยเฉพาะระบบสารสนเทศในระดับบุคคลซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถมากขึ้น
ทำให้ผู้ใช้มีโอกาสพัฒนาความสามารถของตนเองและพัฒนาระบบงานได้เองตามความต้องการ
สำหรับระบบสารสนเทศในระดับกลุ่มและองค์กรที่มีความซับซ้อนจะต้องใช้บุคลากรในสาขาคอมพิวเตอร์โดยตรงมาพัฒนาและดูแลระบบงาน
1.5) ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนของผู้ใช้หรือของบุคลากรที่เกี่ยวข้องก็เป็นเรื่องสำคัญ
เมื่อได้พัฒนาระบบงานแล้วจำเป็นต้องปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอนในขณะที่ใช้งานก็จำเป็นต้องคำนึงถึงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติของคนและความสัมพันธ์กับเครื่อง
ทั้งในกรณีปกติและกรณีฉุกเฉิน เช่น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการประมวลผล
ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อเครื่องชำรุดหรือข้อมูลสูญหาย
และขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูลสำรองเพื่อความปลอดภัย เป็นต้น
สิ่งเหล่านี้จะต้องมีการซักซ้อม มีการเตรียมการ
และการทำเอกสารคู่มือการใช้งานที่ชัดเจน
ระบบเครือข่าย (Network)
หมายถึง ระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องมาเชื่อมต่อกัน โดยใช้สื่อกลางเพื่อใช้ในการสื่อสารข้อมูลถึงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกัน
ทำให้ประหยัดทรัพยากรในการใช้งาน เช่น printer, harddisk, CD
ROM, Scanner เป็นต้น
- ระบบเครือข่าย ที่เป็นที่นิยมเชื่อมต่อในระยะใกล้ ได้แก่ ระบบแลน (LAN : Local Area
Network)
- ระบบเครือข่าย ที่เป็นที่นิยมเชื่อมต่อระยะไกล ได้แก่ ระบบแวน (WAN : Wide Area
Network)
1) รูปแบบการเชื่อมต่อเครื่อข่าย (Topologies)
รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายหรือมักเรียกสั้นๆ
ว่า "โทโพโลยี" เป็นลักษณะทั่วไปที่กล่าวถึงการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทางกายภาพว่ามีรูปแบบหน้าตาอย่างไร เพื่อให้สามารถสื่อสารร่วมกันได้และด้วยเทคโนโลยี
เครือข่ายท้องถิ่นจะมีรูปแบบของโทโพโลยีหลายแบบด้วยกัน
ดังนั้นจึงเป็น
สิ่งสำคัญในการเรียนรู้และทำความเข้าใจแต่ละโทโพโลยีว่ามีความคล้าย
หรือแตกกันอย่างไร รวมถึงข้อดีและข้อเสียของแต่ละโทโพโลยีและโดย
ปกติโทโพโลยีที่นิยมใช้กันบนเครือข่ายท้องถิ่นจะมีอยู่
3
ชนิดด้วยกัน
ได้แก่
โทโพโลยีแบบบัส, โทโพโลยีแบบดาว,
โทโพโลยีแบบวงแหวน
1.1) โทโพโลยีแบบบัส
(Bus Topologies)
เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนสายสัญญาณหลักเส้นเดียว ที่เรียกว่า "Bus" ที่ปลายทั้งสองด้านปิดด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า
"Teminator" ไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเป็นศูนย์กลางในการ
เชื่อมต่อ
หากคอมพิวเตอร์เครื่องใดหยุดทำงาน คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นใน
เครือข่ายก็จะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ
- ข้อดี
1. ติดตั้งได้ง่าย
เพราะโครงสร้างเครือข่ายไม่ซับซ้อน
2. การเดินสายเพื่อต่อใช้งาน
สามารถทำได้ง่าย
3. ประหยัดค่าใช้จ่าย
เพราะใช้สายส่งข้อมูลน้อย เนื่องจากสามารถ
ต่อเข้าสายหลักได้ทันที
4. ง่ายต่อการเพิ่มสถานีใหม่เข้าในระบบ
โดยสถานีนี้สามารถใช้สายส่ง
ข้อมูลที่มีอยู่แล้วได้
- ข้อเสีย
1. หากมีสายใดสายหนึ่งหลุดไปจากสถานีใดสถานีหนึ่ง
ก็จะทำให้ระบบเครือข่ายนี้หยุดการทำงานทันที
2. ถ้าระบบเกิดข้อผิดพลาด
จะหาข้อผิดพลาดได้ยาก โดยเฉพาะถ้าเป็น
ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่
1.2) โทโพโลยีแบบดาว
(Star Topologies)
เป็นการเชื่อมต่อสถานีหรือจุดต่างๆ
ออกจากคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางหรือคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่เรียกว่า "File
Server" แต่ละสถานีจะมีสาย
สัญญาณเชื่อมต่อกับศูนย์กลาง ไม่มีการใช้สายสัญญาณร่วมกัน เมื่อสถานี
ใดเกิดความเสียหายจะไม่มีผลกระทบกับสถานีอื่น ปัจจุบันนิยมใช้
"HUB"เป็นตัวเชื่อมต่อจากคอมพิวเตอร์แม่ข่ายหรือคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง
- ข้อดี
คือ
ง่ายต่อการใช้บริการ เพราะมีแม่ข่ายหรือคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางอยู่เครื่องเดียว
และเมื่อเกิดความเสียหายที่คอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่อง
หนึ่ง
เครื่องอื่นจะไม่ได้รับผลกระทบใดๆเพราะใช้สายคนละเส้น
- ข้อเสีย
คือ
ต้องใช้สายสัญญาณจำนวนมาก เพราะแต่ละสถานีมีสายสัญญาณของตนเองเชื่อมต่อกับศูนย์กลางจึงเหมาะสมกับเครือข่ายระยะใกล้มากกว่าการเชื่อมต่อเครื่อข่ายระยะไกล การขยายระบบก็ยุ่งยากเพราะต้องเชื่อมต่อสายจากศูนย์กลางออกมา
หากศูนย์กลางเสียหายระบบก็จะใช้ไม่ได้
1.3) โทโพโลยีแบบวงแหวน
(Ring Topologies)
เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายเป็นรูปวงแหวนหรือแบบวนรอบ โดยสถานีแรกเชื่อมต่อกับสถานีสุดท้าย การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายจะต้องผ่านทุก
สถานี
โดยมีตัวนำสารวิ่งไปบนสายสัญญาณของแต่ละสถานี, ต้องคอย
ตรวจสอบข้อมูลที่ส่งมา ถ้าไม่ใช่ของตนเองต้องส่งผ่านไปยังสถานีอื่นต่อไป
- ข้อดี
คือ ใช้สายสัญญาณน้อยกว่าแบบดาว เหมาะกับการเชื่อมต่อด้วยสาย
สัญญาณใยแก้วนำแสง เพราะส่งข้อมูลทางเดียวกันด้วยความเร็วสูง
- ข้อเสีย
คือ ถ้าสถานีใดเสียระบบก็จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้จนกว่าจะแก้ไขจุดเสียนั้น และยากในการตรวจสอบว่ามีปัญหาที่จุดใดและถ้าต้องการเพิ่มสถานีเข้าไปจะพกหระทำได้ยากด้วย