แหล่งอารยธรรมเอเชีย
ทวีปเอเชีย เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมโบราณที่สำคัญ ได้แก่ อารยธรรมจีนและอารยธรรมอินเดีย1. อารยธรรมจีน
จีนเป็นดินแดนที่มีอารยธรรมเก่าแก่เช่นเดียวกับอารยธรรมเมโสโปเตเมียและอารยธรรมอินเดีย โดยสืบทดความเจริญจากอดีตจนถึงปัจจุบันมากกว่า 3,000 ปี และได้ขยายอิทธิพลความเจริญออกไปทั่วเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อารยธรรมจีนเริ่มปรากฏในบริเวณลุ่มน้ำหวางเหอเมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช และพัฒนาระดับความเจริญจากชุมชนยุคหินใหม่ไปสู่ความเป็นปึกแผ่นของรัฐเล็กๆ ก่อนจะรวมตัวกันในทางการเมืองเป็นอาณาจักรและเป็นจักรวรรดิในที่สุด สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ช่วงเวลา คือ อารยธรรมจีนสมันก่อนประวัติศาสตร์และอารยธรรมจีนสมัยประวัติศาสตร์
1.1 อารยธรรมจีนสมัยก่อนประวัติศาสตร์
ร่องรอยอารยธรรมจีนตั้งแต่ยุคหินเก่าได้เริ่มปรากฏขึ้นเมื่อมีการขุดค้นพบโครงกระดูก "มนุษย์ปักกิ่ง" ซึ่งมีอายุราว 500,000-300,000 ปีมาแล้ว ในถ้ำโจวโข่วเตี้ยนทางตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงเป่ย์จิง ซึ่งชี้ให้เห็นว่ามนุษย์ปักกิ่งเริ่มรู้จักการใช้หินมาทำเป็นเครื่องมือต่างๆ รู้จักล่าสัตว์ เก็บผลไม้ป่ามาทาน รู้จักใช้ไฟเพื่อให้ความอบอุ่นและใช้ในการปรุงอาหาร
เมื่อเข้าสู่ยุคหินใหม่ของจีน ได้ปรากฏหลักฐานจากการขุดค้นแหล่งโบราณคดี 2 แหล่ง คือ
1.1.1 วัฒนธรรมหยางเชา - พบเครื่องปั้นดินเผาที่มีสีแดงประดับลวดลายเป็นเส้นตรงและวงกลมสีทึบ มนุษย์ในชุมชนนี้ดำรงชีพด้วยการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ รู้จักทำเครื่องมื่อเครื่องใช้จากทองแดง
1.1.2 วัฒนธรรมหลงชาน - พบเครื่องปั้นดินเผาสีดำขัดมันเป็นเงา มีเนื้อบางลำเอียดกว่าที่พบในวัฒนธรรมหยางชาว มนุษย์ยุคนี้มีการตั้งหลักแหล่งเป็นชุมชนหรือหมู่บ้าน สร้างป้อมปราการเพื่อป้องกันตนเอง ดำรงชีพด้วยการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ เช่น ม้า นอกจากนี้ยังปรากฏร่องรอยการประกอบพิธีกรรมและพบกระดูกสัตว์ ซึ่งใช้ในการทำนายเหตุการณ์ความเจริญของวัฒนธรรมหลงชานเป็นพื้นฐานสำคัญและเป็นจุดเริ่มต้นของอารยธรรมจีน
1.2 อารยธรรมจีนสมัยประวัติศาสตร์
1.2.1 ประวัติศาสตร์และการพัฒนาการของการก่อตัวเป็นรัฐ
นักประวัติศาสตร์ถือว่า ราชวงศ์แรกในยุคประวัติศาสตร์ของจีน คือ ราชวงศ์ชาง เนื่องจากเป็นราชวงศ์ที่รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษร ในสมัยนั้นมีการปกครองแบบนครรัฐ ต่อมาเมื่อราชวงศ์ชางเริ่มเสื่อมอำนาจราชวงศ์โจวได้อ้างถึงอาณัติสวรรค์ เข้สยึดอำนาจการปกครอง ตั้งตนเป็นกษัตริย์แทน และเปลี่ยนการปกครองเป็นระบบฟิวดัล ราชวงศ์โจวถือว่า เป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์จีนต่อมาราชวงส์โจวเริ่มอ่อนแอลง เจ้านครต่างๆ ต่างเริ่มแย่งชิงความเป็นใหญ่ สงครามระหว่างแคว้นต่างๆก็ยังคงดำเนินต่อไป จนในที่สุดเมื่อ 221 ปีก่อนคริสต์ศักราช จักรพรรดิจิ๋นซีแห่งแคว้นฉินก็สามารถรวมแผ่นดินเป็นหนึ่งเดียวกันได้สำเร็จ สถาปนาราชวงศ์ฉิน และเปลี่ยนระบบการปกครองเป็นการรวมอำนาจเข้าสู้ศูนย์กลาง
หลังจากที่จักพรรดิจิ๋นซีสวรรคตเพียง 3 ปี ราชวงศ์ฉินก็ล่มสลายลง และเกิดการแย่งชิงความเป็นใหญ่อีกครั้ง ในที่สุด หลิวปังก็สามารถสถาปนาตัวเองเป็นจักรพรรดิได้สำเร็จก่อตั้งราชวงศ์ฮั่น ปละเป็นจุดเริ่มต้นของความเป็นปึกแผ่นทางการเมืองอย่างแท้จริง
1.2.2 อารยธรรมจีนในสมัยราชวงศ์ต่างๆมีดังนี้
1) ราชวงศ์ชาง (เป็นราชวงศ์แรกของจีน)
2) ราชวงศ์โจว
3) ราชวงศ์ฉิน
4) ราชวงศ์ฮั่น
5) ราชวงศ์สุย
6) ราชวงศ์ถัง
7) ราชวงศ์ซ่ง
8) ราชวงศ์หยวน
9) ราชวงศ์หมิง
10) ราชวงศ์ชิง (เป็นราชวงศ์สุดท้ายของจีน)
1.2.3 พัฒนาการด้านอารยธรรมและความเจริญของจีน
ราชวงศ์จีน
1) ราชวงศ์ชาง (เป็นราชวงศ์แรกของจีน)
2) ราชวงศ์โจว
3) ราชวงศ์ฉิน
4) ราชวงศ์ฮั่น
5) ราชวงศ์สุย
6) ราชวงศ์ถัง
7) ราชวงศ์ซ่ง
8) ราชวงศ์หยวน
9) ราชวงศ์หมิง
10) ราชวงศ์ชิง (เป็นราชวงศ์สุดท้ายของจีน)
1.2.3 พัฒนาการด้านอารยธรรมและความเจริญของจีน
ในช่วงเวลาดังกล่าวนานนับหลายพันปี ได้มีพัฒนาการในหลายๆด้าน ดังเช่น
1. ศาสนาและความเชื่อ
> ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชางเป็นต้นมา นอกจากชาวจีนจะนับถือเทพเจ้าที่มาจากธรรมชาติแล้ว ยังมีความเชื่อเรื่องวิญญาณ มีการเคารพบูชาบรรพบุรุษ และยังเชื่อในเรื่องโชคลางอีกด้วย ในยุคแห่งความแตกแยกในสมัยราชวงศ์โจว นักปราชญ์ต่างพยายามเสนอแนวคิดที่แตกต่างกันออกมามากมายเพื่อแก้ปัญหาสังคมและการเมือง แนวคิดที่สำคัญ 3 ลัทธิ ได้แก่
1) ลัทธิขงจื้อ - สนใจเรื่องของมนุษย์และสังคมมากกว่าเรื่องของโลก นรก สวรรค์
2) ลัทธิเต๋า - ตรงข้ามกับลัทธิขงจื้อ(สนใจเรื่องธรรมชาติ,โลก,นรก,สวรรค์)
3) ลัทธิฝ่าเจียหรือนิติธรรมนิยม
2. ศิลปวัฒนธรรมของจีน
1)ประติมากรรม
2)สถาปัตยกรรม
3)จิตรกรรม
4)วรรณกรรม
3. ความเจริญรุ่งเรืองของจีน
1)ประติมากรรม
เครื่องปั้นดินเผา
ส่วนใหญ่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีอายุเก่าแก่ตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ ทำจากดินสีแดง มีลวดลาย แดง ดำ และขาวเป็นลวดลายเรขาคณิต2)สถาปัตยกรรม
กำแพงเมืองจีน
กำแพงเมืองจีนถูกสร้างเพื่อป้องกันการรุกรานของพวกมองโกล
ภาพบนผ้าไหม
งานจิตรกรรมจีนรุ่งเรืองมากในสมัยราชวงศ์ฮั่น มีการเขียนภาพและแกะสลักบนแผ่นหิน ที่นิยมมากคือ การเขียนภาพบนผ้าไหม ภาพวาดเป็นเรื่องเล่าในตำราขงจื๊อพระพุทธศาสนาและภาพธรรมชาติ4)วรรณกรรม
สามก๊ก
สามก๊ก สันนิษฐานว่าเขียนในคริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นเรื่องราวของความแตกแยกในจีนตั้งแต่ปลายสมัยราชวงศจิ๋นจนถึงราชวงศ์ฮั่น3. ความเจริญรุ่งเรืองของจีน
ชาวจีนในสมัยโบราณได้พัฒนาความเจริญรุ่งเรืองด้านต่างๆ ที่เป็นรากฐานของอารยธรรมจีน ความเจริญที่สำคัญ ได้แก่ การประดิษฐ์อักษรจีน วิชาดาราศาสตร์ ปรัชญา การก่อสร้างอักษรจีน จีนมีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลและมีภาษาถิ่นจำนวนมากที่แตกต่างกันตามกลุ่ม ประชากร ทำให้ไม่อาจติดต่อสื่อสารกันได้ และเป็นอุปสรรคต่อการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง โดยเฉพาะในสมัยโบราณ จีนปกครองในระบบนครรัฐซึ่งมีประมาณ 1800 แห่ง การประดิษฐ์อักษรจีนนับเป็นภูมิปัญญาที่ยิ่งใหญ่ เพราะส่งเสริมให้เกิดเอกภาพในสังคมจีน อักษรจีนเป็นอักษรภาพ ไม่มีพยัญชนะ อักษรแต่ละตัวมีความหมายชัดเจน ดังนั้น ชาวจีนที่พูดภาษาต่างกันก็สามารถสื่อสารตรงกันได้ด้วยตัวอักษรภาพ อักษรจีนเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาความเจริญอื่นๆ จำนวนมาก เช่น การรวมศูนย์อำนาจปกครอง การติดต่อค้าขาย การศึกษา ปรัชญา การบันทึกประวัติศาสตร์ การทำกระดาษ ฯลฯ
4. การแพร่ขยายและถ่ายทอดอารยธรรมจีน
อารยธรรมจีนแผ่ขยายขอบข่ายออกไปอย่างกว้างขวางทั้งในเอเชียและยุโรป อันเป็นผลมาจากการติดต่อทางการทูต การค้า การศึกษา ตลอดจนการเผยแผ่ศาสนา อย่างไรก็ตามลักษณะการถ่ายทอดแตกต่างกันออกไป ดินแดนที่เคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของจีนเป็นเวลานาน เช่น เกาหลี และเวียดนาม จะได้รับอารยธรรมจีนอย่างสมบูรณ์ ทั้งในด้านวัฒนธรรม การเมือง ขนบธรรมเนียมประเพณี การสร้างสรรค์ และการแสดงออกทางศิลปะ ทั้งนี้เพราะราชสำนักจีนจะเป็นผู้กำหนดนโยบายและบังคับให้ประเทศทั้งสองรับ วัฒนธรรมจีนโดยตรง
ในเอเชียใต้ ประเทศที่แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับจีนอย่างใกล้ชิด คือ อินเดีย พระพุทธศาสนามหายานของอินเดียแพร่หลายเข้ามาในจีนจนกระทั่งเป็นศาสนาสำคัญ ที่ชาวจีนนับถือ นอกจากนี้ศิลปะอินเดียยังมีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ศิลปะบางอย่างของจีน เช่น ประติมากรรมที่เป็นพระพุทธรูป
2.1) อารยธรรมลุ่มน้ำสินธุ
2.2) อารยธรรมอินเดียภายหลังการเข้ามาของชาวอารยัน
2.2.1) ประวัติศาสตร์และพัฒนาการของการก่อตัวเป็นรัฐ
2.2.2) พัฒนาการด้านอารยธรรมและความเจริญของอินเดีย
2.2.3) ราชวงศ์อินเดีย
1) ราชวงศ์จาลุกยะ
2) ราชวงศ์เนมิราช
3) ราชวงศ์โมริยะ หรือ เมารยะ
4) ราชวงศ์วิเทหะ
1. ศาสนาและความเชื่อ
2. ศิลปวัฒนธรรมของอินเดีย
1)สถาปัตยกรรม
2) ประติมากรรม
ในเอเชียตะวันออก พระพุทธศาสนามหายานของอินเดียมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อชาวจีนทั้งในฐานะศาสนาสำคัญ และในฐานะที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ศิลปะของจีน
ในเอเชียใต้ ประเทศที่แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับจีนอย่างใกล้ชิด คือ อินเดีย พระพุทธศาสนามหายานของอินเดียแพร่หลายเข้ามาในจีนจนกระทั่งเป็นศาสนาสำคัญ ที่ชาวจีนนับถือ นอกจากนี้ศิลปะอินเดียยังมีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ศิลปะบางอย่างของจีน เช่น ประติมากรรมที่เป็นพระพุทธรูป
พระพุทธรูป
2. อารยธรรมอินเดีย
แบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลา คือ อารยธรรมลุ่มน้ำสินธุ(อารยธรรมของดราวิเดียน), อารยธรรมอินเดียภายหลังจากการเข้ามาของพวกอารยัน2.1) อารยธรรมลุ่มน้ำสินธุ
2.2) อารยธรรมอินเดียภายหลังการเข้ามาของชาวอารยัน
2.2.1) ประวัติศาสตร์และพัฒนาการของการก่อตัวเป็นรัฐ
2.2.2) พัฒนาการด้านอารยธรรมและความเจริญของอินเดีย
2.2.3) ราชวงศ์อินเดีย
1) ราชวงศ์จาลุกยะ
2) ราชวงศ์เนมิราช
3) ราชวงศ์โมริยะ หรือ เมารยะ
4) ราชวงศ์วิเทหะ
ราชวงศ์อินเดีย
ในช่วงเวลาดังกล่าวชาวอินเดีย มีพัฒนาการในด้าน ต่อไป1. ศาสนาและความเชื่อ
2. ศิลปวัฒนธรรมของอินเดีย
1)สถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรม อินเดียได้รับอิทธิพลมาจากเปอร์เซีย (ลานด้านใน ประตูโค้ง) ที่เมืองหลวงใหม่ของพระเจ้าอัคบาร์ คือ ฟาเตห์ปูร์สิครี ใกล้เมืองอัครา แสดงสถาปัตยกรรมแบบโมกุลแท้ในการสร้างราชวัง สุเหร่า เช่นเดียวกับหลุมศพของพระเจ้าอัคบาร์ที่สีกันดารา และ วัดโก-แมนดาล ที่โอไดปูร์ แต่งานที่เด่นที่สุด คือ ทัชมาฮัล ประดับด้วยหินมีค่า บนยอดเป็นหินสีขาว เส้นทุกเส้นเข้ากันได้อย่างงดงามกับสวน และน้ำพุ นับเป็นสถาปัตยกรรมที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งในโลก นอกจากนั้นมีสุเหร่ามุกของเมืองอัครา เกิดนิกายขึ้นหลายนิกายในหมุ่คนฮินดู เช่น ตันตริก ซิก มาดวา ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีซากเมืองฮารับปาและโมเฮนโจดาโร ทำให้เห็นว่ามีการวางผังเมืองอย่างดี มีสาธาร- ณูประโภคอำนวยความสะดวกหลายอย่าง เช่น ถนน บ่อน้ำ ประปา ซึ่งเน้นประโยชน์ใช้สอยมากกว่าความสวยงาม ซาก พระราชวังที่เมืองปาฏลีบุตรและตักศิลา สถูปและเสาแปดเหลี่ยม ที่สำคัญคือ สถูปเมืองสาญจี (สมัยราชวงศ์โมริยะ) และสุสานทัชมาฮาล สร้างด้วยหินอ่อน เป็นการผสมระหว่างศิลปะอินเดียและเปอร์เชีย
สถูปเมืองสาญจี
เกี่ยวข้องกับศาสนา ได้แก่ พระพุทธรูปแบบคันธาระ พระพุทธรูปแบบมถุรา พระพุทธรูปแบบอมราวดี ภาพสลักนูนที่มหาพลิปุลัม ได้รับการยกย่องว่ามหัศจรรย์
พระพุทธรูปแบบอมราวดี
3)จิตรกรรม จิตรกรรม อินเดียตามประวัติศาสตร์แล้ว วิวัฒนาการมากจากการเขียนภาพบุคคลในศาสนาและพระมหากษัตริย์ จิตรกรรมอินเดียเป็นคำที่มาจากตระกูลการเขียนหลายตระกูลที่เกิดขึ้นในอนุ ทวีปอินเดีย ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไปมีตั้งแต่จิตรกรรมฝาผนังขนาดใหญ่ของถ้ำเอลเลรา (Ellora Caves) ไปจนถึงงานที่ละเอียดลออของจุลจิตรกรรมของจิตรกรรมโมกุล และงานโลหะจากตระกูล Tanjore ส่วนจิตรกรรมจากแคว้นคันธาระ-ตักกสิลา
พระรามกับสีดาในป่า
4)นาฏศิลป์และสังคีตศิลป์
เกี่ยวกับการฟ้อนรำ เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมเพื่อบูชาเทพเจ้าตามคัมภีร์พระเวท ส่วน บทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ถือเป็นแบบแผนการร้องที่เก่าแก่ที่สุดใน สังคีตศิลป์ของอินเดีย แบ่งเป็นดนตรีศาสนา ดนตรีในราชสำนักและดนตรีท้องถิ่น เครื่องดนตรีสำคัญ คือ วีณา หรือพิณ ใช้สำหรับดีด เวณุหรือขลุ่ย และกลอง
Mohiniyattam
5) วรรณกรรม
วรรณกรรม อินเดียที่มีอิทธิพล ได้แก่ รามายณะ มหาภารตะ คัมภีร์ปุราณะและเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวกับธรรมเนียมกษัตริย์ การสืบราชวงศ์ตามแบบธรรมเนียมโบราณของราชวงศ์ในลุ่มแม่น้ำคงคา วรรณกรรมอินเดียมีอิทธิพลต่อชีวิตชาวบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย โดยการเล่า การอ่านนิทานแสดงเกี่ยวกับเนื้อเรื่องในวรรณกรรม การแสดงหุ่นกระบอก หนัง ละครที่มีเนื้อหาของวรรณกรรม รามายณะ มหากาพย์ และชาดก
ทศกัณฐ์ หรือ อสูรราพณ์ ศัตรูของพระราม
3. ความเจริญรุ่งเรืองของอินเดีย
4. การแพร่ขยายและการถ่ายทอดอารยธรรมอิเดีย
ในอดีตอินเดียใช้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมที่เน้นการพึ่งพาตนเอง โดยรัฐเป็นผู้ลงทุนในกิจการหลักๆ ของประเทศทั้งหมด ได้แก่ กิจการสาธารณูปโภคและสวัสดิการของประชาชน กิจการที่เป็นยุทธศาสตร์และความมั่นคงของประเทศ และอุตสาหกรรม แต่ก็ให้ความสำคัญในการสนับสนุนกิจการขนาดเล็กของเอกชนในด้านการค้า อินเดียจำกัด และห้ามนำเข้าสินค้าด้วยมาตรการกฎหมาย และกำแพงภาษี นอกจากนี้ ยังควบคุมการลงทุนอย่างเข้มงวด
ต่อมาอินเดียเริ่มผ่อนคลายมาตรการข้อจำกัดลง เนื่องจากผลกระทบจากวิกฤติการณ์นํ้ามัน และสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งทำให้ประสบภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้อินเดียต้องขอความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตามเงื่อนไขการกู้เงินของ IMF โดยประกาศนโยบายเปิดเสรีทางเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป และกำหนดมาตรการที่สำคัญ เช่น ลดการขาดดุลงบประมาณของภาครัฐ การปฏิรูปอัตราแลกเปลี่ยน เพิ่มสัดส่วนถือหุ้นของต่างชาติ ลดการอุดหนุนการส่งออก และข้อจำกัดการนำเข้า และตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ รวมทั้งพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานและระบบขนส่งให้ทันสมัย เพื่อรองรับการลงทุนจากต่างชาติได้มากขึ้น
4. การแพร่ขยายและการถ่ายทอดอารยธรรมอิเดีย
ภูมิภาคเอเชียกลาง อารยธรรมอินเดียที่ถ่ายทอดให้เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 เมื่อพวกมุสลิมอาหรับ ซึ่งมีอำนาจในตะวันออกกลางนำวิทยาการหลายอย่างของอินเดียไปใช้ ได้แก่ การแพทย์ คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ เป็นต้น ขณะเดียวกันอินเดียก็รับอารยธรรมบางอย่างทั้งของเปอร์เชียและกรีก โดยเฉพาะด้านศิลปกรรม ประติมากรรม เช่น พระพุทธรูปศิลปะคันธาระซึ่งเป็นอิทธิพลจากกรีก ส่วนอิทธิพลของเปอร์เชีย ปรากฏในรูปการปกครอง สถาปัตยกรรม เช่น พระราชวัง การเจาะภูเขาเป็นถ้ำเพื่อสร้างศาสนสถาน
ภูมิภาคที่ปรากฏอิทธิพลของอารยธรรมอินเดียมากที่สุดคือ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ่อค้า พราหมณ์ และภิกษุสงฆ์ชาวอินเดียเดินทางมาและนำอารยธรรมมาเผยแพร่ อารยธรรมที่ปรากฏอยู่มีแทบทุกด้าน โดยเฉพาะในด้านศาสนา ความเชื่อ การปกครอง ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู และพุทธ ได้หล่อหลอมจนกลายเป็นรากฐานสำคัญที่สุดของประเทศต่างๆในภูมิภาคนี้
ทัชมาฮาล
3.อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
กำเนิดในลุ่มแม่น้ำสองสาย คือ ไทกริสและยูเฟรติส เป็นแหล่งอารยธรรมแรกของโลก เมื่อประมาณ 3500 ปี ก่อนค.ศ. เนื่องจากเป็นแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ท่ามกลางดินแดนทะเลทรายและภูเขา (ปัจจุบันได้แก่ประเทศอิรัก)- บริเวณที่ราบที่แม่น้ำทั้งสองสายบรรจบกันและไหลลงสู่ทะเล อ่าวเปอร์เซีย เรียกว่า “บาบิโลเนีย”
- โดยเหตุนี้ ทำให้มีชนหลายกลุ่มหลายเผ่าผลัดกันมาตั้งถิ่นฐาน และมีอำนาจในดินแดนแถบนี้
เป็นชนเผ่าแรกที่เข้าครอบครอง และทำการก่อสร้างระบบชลประทานเป็นชาติแรก
- สังคมของสุเมเรียนยกย่อง เกรงกลัวเทพเจ้า นิยมก่อสร้างศาสนสถานเรียกว่า “ซิกกูแรต” สร้างด้วยอิฐตากแห้ง
- ชาวสุเมเรียน เป็นกลุ่มแรกที่ประดิษฐ์อักษร ได้แก่ อักษรลิ่ม หรือ “คูนิฟอร์ม” cuneiform นักประวัติศาสตร์จึงนับเอาเป็นเกณฑ์ในการแบ่งยุคประวัติศาสตร์
- “กิลกาเมซ” Epic of Gilgamesh เป็นมหากาพย์ ที่ถูกแต่งขึ้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับน้ำท่วมโลก
- มีความเจริญทางด้านคณิตศาสตร์ ปฏิทิน และการชั่ง ตวง วัด
หลังจากสุเมเรียนเสื่อมอำนาจ ชาวอามอไรต์ Amorite ได้ตั้ง อาณาจักรบาบิโลเนีย Babylonia ขึ้นมา การปกครองแบบรวมศูนย์ การจัดเก็บภาษี การเกณฑ์ทหาร
- สมัยพระเจ้าฮัมมูราบี ( 1792-1745 B.C.) ได้มี “ประมวลกฎหมายฮัมมุราบี” เป็นลายลักษณ์อักษร จารึกแผ่นศิลา ยึดถือหลัก ตาต่อตา ฟันต่อฟัน ในการลงโทษ
ชนเผ่าฮิตไทต์ Hittite
- เข้ายึดครองแทนในดินแดนแถบนี้ เมื่อ 1590 B.C.
ชนเผ่าคัสไซต์ Kassite
- อพยพมาจาก เทือกเขาซากรอส เข้าครอบครองต่อ และมีอายุยาวนานต่อเนื่องกว่า 400 ปี
ชนเผ่าอัสซีเรีย
- พวกอัสซีเรียน ได้เข้ายึดครองกรุงบาบิโลน มีศูนย์กลางที่ นิเนเวห์ ตั้งจักรวรรดิอัสซีเรีย Assyrian
- สมัยพระเจ้าอัสชูร์บานิปาล 668-629 B.C. อัสซีเรียมีความเจริญขีดสุด
612 B.C
ชนเผ่าคาลเดีย
. เผ่าคาลเดียน Chaldean เข้ายึดครองนิเนเวห์สำเร็จ สถาปนากรุงบาบิโลนขึ้นใหม่
- สมัยพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ 605-562 B.C. สามารถตีเยรูซาเลม และกวาดต้นเชลยมาเป็นจำนวนมาก ได้สร้าง “สวนลอยแห่งบาบิโลน” Hanging Gardens of Babylon
- ชาวคาลเดียน เป็นชาติแรกที่นำเอาความรู้ด้านดาราศาสตร์มาพยากรณ์โชคชะตามนุษย์ และยังสามารถคำนวณด้านดาราศาสตร์ได้อย่างแม่นยำ
3.1 ราชวงศ์เมโสโปเตเมีย
1) ราชวงศ์อะคีเมนิด
2) ราชวงศ์เซลิวชิด
3) จักรวรรดิของชาวปาร์เถียน
4) ราชวงศ์ซัลซานิด
5) ราชวงศ์อับบาสิด หรือ อาหรับมุสลิม
6) สมัยมองโกลปกครอง
7) ราชวงศ์ซาฟาวี
8) ราชวงศ์คะจาร์
9) ราชวงศ์ปาเลวี
10) สมัยสาธารณรัฐอิสลาม
4) ราชวงศ์ซัลซานิด
5) ราชวงศ์อับบาสิด หรือ อาหรับมุสลิม
6) สมัยมองโกลปกครอง
7) ราชวงศ์ซาฟาวี
8) ราชวงศ์คะจาร์
9) ราชวงศ์ปาเลวี
10) สมัยสาธารณรัฐอิสลาม
ราชวงศ์อะคีเมนิด
3.2 ศิลปวัฒนธรรมของเมโสโปเตเมีย
1 การประดิษฐ์ตัวอักษรลิ่ม (Cuneiforms) โดยใช้ลำดับต้นอ้อสลักตัวอักษรลงบนแผ่นดินเหนียวเปียก แล้วนำไปอบด้วยความร้อนจนแห้ง
ตัวอักษรลิ่ม
วิหารซิกกูแรต
3 การแกะสลักตราประจำตัว สำหรับประทับในจดหมายซึ่งเขียนบนแผ่นดินเหนียวและการใช้โลหะผสมสำริด ประดิษฐ์เครื่องใช้ต่างๆ
4 การพัฒนางานกสิกรรม เช่น ขุดคลองส่งน้ำ สร้างทำนบกั้นน้ำ ฯลฯ รวมทั้งความเจริญทางคณิตศาสตร์ รู้จักการคูณ หาร และการถอดรากกำลังสอง เป็นต้น
5 วัฒนธรรมทางศาสนา ชาวสุเมเรียนนับถือพระเจ้าหลายองค์ และกษัตริย์เป็นผู้ได้รับมอบหมายจากเทพเจ้าให้มาปกคลองโลกมนุษย์ ความเชื่อดังกล่าวถ่ายทอดไปยังชาวกรีกและโรมันในสมัยต่อมา นอกจากนี้ ชาวสุเมเรียนไม่เชื่อเรื่องภพหน้า จึงไม่มีการสร้างสุสานหรือมัมมีเหมือนอียิปต์โบราณ
3.3 ความเจริญรุ่งเรืองของเมโสโปเตเมีย
ชาวสุเมเรียนที่ตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้ ต้องเผชิญกับน้ำท่วมจากการไหลบ่าของแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรทีส
- ดังนั้นจึงต้องหาวิธีแก้ปัญหาโดยการขุดคลองระบายน้ำ นับเป็นความพยายามในการแก้ปัญหาโดยควบคุมธรรมชาติ ความรู้เกี่ยวกับเกษตรของพวกสุเมเรียนเป็นพื้นฐานแก่ชนเผ่าอื่นๆ เช่น พวกบาบิโลเนียนที่ได้สร้างสวนลอยมีต้นไม้เขียวขจีตลอดปีเรียกกันว่า สวนลอยแห่งบาบิโลน ( Hanging Garden of Babylon) สวนลอยแห่งกรุงบาบิโลนได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ นอกจากนี้ชาวเมโสโปเตเมีย ยังรู้จักสร้างอุโมงค์น้ำใต้ดินเพื่อส่งน้ำมาใช้ในเมืองหลวง
- การที่ชาวสุเมเรียนมีความรู้ในการคำนวณและความรู้ทางดาราศาสตร์สามารถทำปฏิทินแบบจันทรคติ ทำให้รู้เวลาที่เหมาะสมในการเพาะปลูก และยังทำให้สามารถกำหนดวันที่ควรจะเดินทางออกไปติดต่อการค้าขาย เช่น การใช้ความรู้เกี่ยวกับเคลื่อนที่ของดวงดาวเป็นเครื่องนำทาง ให้เดินทางไปจนถึงจุดหมาย นอกจากนี้ความรู้
- ด้านการบวก ลบ คูณ และระบบการชั่ง ตวง วัด ทำให้ชาวสุเมเรียนมีความสามารถในด้านการค้า
3.4 การแพร่ขยายและการถ่ายทอดอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
อารยธรรมเมโสโปเตเมียถ่ายทอดพัฒนาการทางความคิดที่สำคัญของชาวสุเมเรียนอีกประการหนึ่ง คือ การรู้จักการคูณ การหาร ระบบหน่วยหกสิบ ได้แก่ 6, 60, 600, 3,600 ซึ่งปัจจุบันใช้กับการนับเวลาและการคำนวณวงกลม นอกจากนี้ยังได้คิดระบบชั่ง ตวง วัด ซึ่งเป็นรากฐานที่มาของการชั่งที่คิดน้ำหนักเป็นปอนด์ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ ส่วนชาวคาลเดียนสามารถคำนวณวันเกิดสุริยปราคาและจันทรุปราคา รวมทั้งสามารถจัดแบ่งสัปดาห์ออกเป็น 7 วัน
4.อารยธรรมเติร์กเมนิสถาน
เติร์กเมนิสถานเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรต่างๆ โดยเฉพาะที่บริเวณรอบทะเลสาบแคสเปียนนั้น อุดมไปด้วยน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งรัฐบาลเติร์กเมนิสถาน ได้มีความพยายามที่จะสร้างท่อส่งก๊าซไปยังตุรกี แต่บริษัทของอเมริกาไม่พอใจ เพราะต้องผ่านอิหร่านก่อน
วิถีชีวิต และวัฒนธรรม
นับถือศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ชาวเติร์กเมนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย ในสภาพภูมิประเทศที่แห้งแล้ง เป็นชนชาติที่ไม่ชอบความรุนแรง และยังคงยึดถือธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม ซึ่งเป็นลักษณะวัฒนธรรมเฉพาะกลุ่ม
การแต่งกาย
ชาวเติร์กเมนยังคงรักษาการแต่งกายตั้งเดิมเอาไว้คือ ผุ้ชายสวมกางเกงขายาวหลวมๆ สีน้ำเงิน สวมร้องเท้าบูททับขากางเกง สวมเสื้อเชิ้ตสีขาว ทับด้วยเสื้อคลุมไหมสีแดงมีแถบสีทอง สวมหมวกขนสัตว์ ชุดผู้หญิงเป็นกระโปรงยาวคลุมข้อเท้าสีแดง ประดับด้วยแผ่นเงิน หรือโลหะสวมกางเกงขายาวด้านใน ผูกผมไว้ด้านหลัง และคลุมศีรษะด้วยผ้า
ชาวเติร์กเมนยังคงรักษาการแต่งกายตั้งเดิมเอาไว้คือ ผุ้ชายสวมกางเกงขายาวหลวมๆ สีน้ำเงิน สวมร้องเท้าบูททับขากางเกง สวมเสื้อเชิ้ตสีขาว ทับด้วยเสื้อคลุมไหมสีแดงมีแถบสีทอง สวมหมวกขนสัตว์ ชุดผู้หญิงเป็นกระโปรงยาวคลุมข้อเท้าสีแดง ประดับด้วยแผ่นเงิน หรือโลหะสวมกางเกงขายาวด้านใน ผูกผมไว้ด้านหลัง และคลุมศีรษะด้วยผ้า
อาหาร
อาหารพื้นเมืองที่น่าสนใจของชาวเติร์ก คือ Manti เป็นแป้งสอดใส่ด้วยเนื้อบดผสมหัวหอมและฟักทอง แล้วนำไปนึ่ง ส่วนขนมปังที่บริโภคกันอย่างแพร่หลาย คือ Chorek ซึ่งเป็น ขนมปังอบในโอ่ง (อบโดยแปะไว้ในโอ่ง ที่เป็นเตา) ส่วนเครื่องดื่มที่ขึ้นชื่อ คือ นมอูฐหมัก หรือ Chal โดยจะมีรสชาติ ออกเปรี้ยว ซึ่งเครื่องดื่มชนิดนี้นอกจากเป็นที่นิยมของชาวเติร์กแล้ว ยังเป็นที่ชื่นชอบของชาวคาซัคด้วยเช่นกัน
นอกจากนั้น ชาวเติร์กนิยมดื่มชาเขียว และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์ เช่น วอดก้า เนื่องจากหาได้ทั่วไปและมีราคาถูก
Manti
ที่อยู่อาศัย
ชาวเติร์กเมนใช้ชีวิตเรียบง่านในกระโจมที่ทำด้วยโครงไม้ คลุมด้วยต้นกก ต้นอ้อ และสักหลาด โดยมีพรมเพียงไม่กี่ผืนเป็นเฟอร์นิเจอร์ พรมนอกจากใช้งานเพื่อปูพื้นแล้ว ยังนำมาประดับตกแต่งแขวนไว้ตามผนัง โดยพรมนับเป็นหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงของเติร์กเมนิสถาน ปัจจุบันการผลิตพรมโดยมาก มักผลิตเพื่อการค้า
ศิลปกรรม
ลักษณะงานศิลปกรรมมีทั้งที่เป็นศิลปกรรมในศาสนาอิสลาม และศาสนาคริสต์ สถาปัตยกรรมอิสลามเน้นที่มีซุ่มประตูสูงใหญ่ ทรงสี่เหลี่ยม เจาะช่องทางเข้าเป็นซุ่มโค้งปลายแหลมขึ้น ประดับตกแต่ง ด้วยกระเบื้องสี หรือเขียนลวดลายด้วยสี สถาปัตยกรรมในสาสนาคริสต์เป็นอาคารสูงเพรียว มียอดแหลมสูง อาจมีหลายยอด ตกแต่งอย่างสวยงามในรายละเอียดต่างๆ
เทศกาล และประเพณี
ส่วนมากเป็นเทศกาลทางศาสนาอิสลามเช่น เทศกาลเฉลิมฉลองฤดูใบไม้ผลิ เทศกาลรอมฎอน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีประเพณีท้องถิ่นคือ ในเดือนเมษายน มีการฉลองม้า Akilteken มีขบวนพาเหรด และการแข่งม้า ในอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนสิงหาคม เป็นวัน Bakshi เป็นเทศกาลของเพลงพื้นเมือง และอาทิตย์สุดท้ายของเดือนธันวาคม เป็นเทศกาลเก็บเกี่ยว
ส่วนมากเป็นเทศกาลทางศาสนาอิสลามเช่น เทศกาลเฉลิมฉลองฤดูใบไม้ผลิ เทศกาลรอมฎอน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีประเพณีท้องถิ่นคือ ในเดือนเมษายน มีการฉลองม้า Akilteken มีขบวนพาเหรด และการแข่งม้า ในอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนสิงหาคม เป็นวัน Bakshi เป็นเทศกาลของเพลงพื้นเมือง และอาทิตย์สุดท้ายของเดือนธันวาคม เป็นเทศกาลเก็บเกี่ยว
5. อารยธรรมไทย
5.1 ราชวงศ์ไทย
1)ราชวงศ์พระร่วงคือราชวงศ์แรกของไทย2)ราชวงศ์อู่ทอง
3)ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
4)ราชวงศ์สุโขทัย
5)ราชวงศ์ปราสาททอง
6)ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
7)ราชวงค์จักรี
5.2 ศิลปวัฒนธรรมของอารยธรรมไทย
ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและการดำรงชีวิตของคนไทยนั้น ได้รับอิทธิพลมาจาก มอญ ขอม อินเดีย จีนและชาติตะวันตก แต่ส่วนใหญ่จะผูกพันอยู่กับพุทธศาสนา
การไหว้ : | ||||
เป็นประเพณีการทักทายที่ถือเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของไทย โดยเป็นการแสดงถึงความมีสัมมาคารวะ และให้เกียรติกันและกัน นอกจากการทักทายแล้ว การไหว้ยังสื่อถึงการขอบคุณ ขอโทษ หรือกล่าวลาด้วย
|
5.3 ความเจริญรุ่งเรืองของอารยธรรมไทย
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีแล้ว พระองค์ได้ทรงทำสงครามเพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ราชอาณาจักร ทรงเร่งฟื้นฟูพัฒนาชาติบ้านเมืองให้มีความเจริญรุ่งเรืองดังเช่นทีเคยรุ่งเรืองมาในสมัยอยุธยา ทำให้กรุงรัตนโกสินทร์มีความมั่นคงและเจริญรุ่งเรืองมาตลอดเป็นเวลายาวนานนับจากเริ่มสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ใน พ.ศ.2325 จนกระทั่งปัจจุบันเป็นเวลากว่า 200 ปี ปัจจัยที่ส่งเสริมให้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ได้อย่างมั่นคงและเจริญรุ่งเรืองสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน มีหลายประการด้วยกันที่สำคัญ คือ
1.มีที่ตั้งในทางยุทธศาสตร์เหมาะสม ตำบลบางกอกซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงรัตนโกสินทร์มีลักษณะเป็นแหลม มีแม่น้ำเป็นกำแพงเกือบครึ่งเมือง ส่วนด้านตะวันออกของเมืองเป็นที่ราบลุ่มทะเลตม น้ำท่วมเป็นเวลานานในฤดูน้ำหลาก เป็นด่านป้องกันข้าศึกได้อย่างดีการก่อสร้างเมืองก็มีการสร้างกำแพงเมืองล้อมรอบอย่างแข็งแรง มีป้อมปราการโดยรอบ นอกกำแพงเมืองมีการขุดคูเมืองเป็นแนวป้องกันข้าศึก อีกทั้งมีบริเวณโดยรอบพระนครเป็นที่ราบ ซึ่งสามารถขยายเมืองออกไปได้เรื่อยๆ
2.เป็นบริเวณมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเกษตร พื้นที่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยามีดินและน้ำอุดมสมบูรณ์ สามารถทำการเพาะปลูกได้ผลดี ทำให้เกษตรกรรมเจริญก้าวหน้า
3.เป็นศูนย์กลางการค้า กรุงรัตนโกสินทร์มีที่ตั้งไม่ไกลจากปากแม่น้ำ มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านเมืองลงสู่ทะเลอ่าวไทย ทำให้การติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมีความสะดวก รวมไปถึงทำเลที่ตั้งอยู่ในเส้นทางการค้าระหว่างจีนกับอินเดีย จึงเป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างตะวันออกกับตะวันตก ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าทำให้ได้รับวัฒนธรรมใหม่ๆ และนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับอาณาจักรได้
4.พระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระปรีชาสามรถด้านการทำสงครามมาตั้งแต่สมัยธนบุรี ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์เมื่อพม่ายกทัพหวังจะเข้ามาโจมตีเพื่อมิให้ไทยตั้งตัวได้ พระองค์และพระราชอนุชา คือ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ก็ทรงยกทัพออกไปป้องกันนอกพระนครมิให้กองทัพข้าศึกยกเข้ามาประชิดพระนครได้ ทำให้กรุงรัตนโกสินทร์มีความมั่นคงเป็นราชธานีของไทยมาจนกระทั่งปัจจุบัน
5.ประเทศเพื่อนบ้านมีปัญหาภายใน และถูกคุกคามจากชาติตะวันตก ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น บางช่วงประเทศเพื่อนบ้านของเรามีปัญหาภายในจึงไม่มีโอกาสยกทัพมารุกรานไทย ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 3 ประเทศตะวันตกเริ่มเข้ามารุกรานประทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศเพื่อนบ้านต่างๆจึงต้องแก้ปัญหาของตนเอง เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้หลังจากปลายรัชกาลที่ 3 เป็นต้นมาไทยก็มิต้องทำสงครามกับประเทศเพื่อนบ้านอีกเลย ส่งผลให้กรุงรัตนโกสินทร์มีความเจริญรุ่งเรืองมาโดยตลอด
6.อารยธรรมอิสลาม
อารยธรรมอิสลาม เป็น อารยธรรมที่เป็นผลมาจากอิทธิพลของศาสนาอิสลาม อารยธรรมอิสลามมีแหล่งกำเนิดในคาบสมุทรอาระเบีย ต่อมาได้ถูกเผยแผ่ไปยังภูมิภาคอื่นๆของทวีปเอเชีย แอฟริกา และยุโรป ผ่านการค้า การสงคราม และการเผยแผ่ศาสนาอิสลามโดยพวกนักสอนศาสนาที่เดินทางไปยังดินแดนต่างๆ อารยธรรมอิสลามที่สำคัญ เช่น สถาปัตยกรรม จิตรกรรม วิทยาการความรู้แขนงต่างๆ ทั้งคณิตศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ ภูมิศาสตร์อักษรศาสตร์ ปรัชญา เป็นต้น
6.1ศิลปวัฒนธรรมของอารยธรรมอิสลาม
มาแกปูโละ ( งานแต่งงาน )
วันอาซูรอ
6.3ความเจริญรุ่งเรืองของอารยธรรมอิสลาม
อารยธรรมด้านความเจริญก้าวหน้าไม่มีการชะงักงันและไม่ล้าหลังอิสลามได้ให้กำเนิดอารยธรรมนี้ขึ้นมาและได้เจริญเติบโตขึ้นด้วยการต่อต้านสิ่งอธรรมการเอารัดเอาเปรียบการชะงักงันความล้าหลังอิสลามมิได้ห้ามมุสลิมนำเอาสิ่งใหม่ ๆ หากสิ่งนั้นไม่ขัดต่อศาสนา รูปแบบ จริยธรรมของอิสลามคำกล่าวอ้างของผู้ที่ต้องการทำลายอิสลามที่กล่าวว่าการศรัทธานั้นขัดต่อเป้าหมายความยุติธรรมของสังคมคำอ้างดังกล่าวนั้นมันไม่เป็นความจริงแท้จริงรูปแบบความยุติธรรมของสังคมจะไม่สมบูรณ์นอกจากจะอยู่ภายใต้ร่มเงาของการศรัทธาเท่านั้นอันศาสนาที่มาจากพระผู้เป็นเจ้านั้นทุกศาสนาเรียกร้องไปสู่การเห็นอกเห็นใจกัน คนมั่งมีจะต้องจุนเจือคนขัดสนหรือคนยากจนอนาถาด้วยเหตุนี้อิสลามจึงบัญญัติการจ่ายซากาตเหนือมุสลิมที่มีความสามารถ
6.4 การแพร่ขยายและการถ่ายทอดอารยธรรมอิสลาม
7.อารยธรรมอะมอไรต์
ความเป็นมา เป็นชนเผ่าเซมิติคอีกพวกหนึ่งที่อพยพมาจากทะเลทรายอาราเบีย โดยได้ยกกำลังเข้ายึดครองนครรัฐของชาวสุเมเรียนและขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางเมื่อประมาณ 1750 ก่อนคริสตกาล โดยมีผู้นำที่เข้มแข็งทรงพระนามว่า ฮัมมูราบี (Hammurabi)
ความสำคัญ ซึ่งต่อมาได้สถาปนาจักวรรดิบาบิโรเนียขึ้น โดยมีนครบาบิโลน (Babylon) เป็นศูนย์กลางของจักวรรดิ
จักพรรดิฮัมมูราบีทรงเป็นนักปกครองและนักบริหารที่ยอดเยี่ยมได้ทรงคิดค้นเครื่องมือที่จะช่วยสร้างความเป็นระเบียบและความยุติธรรมให้แก่ดินแดนทั่วทั้งจักวรรดิ เครื่องมือดังกล่าวนั้น คือกฏหมายที่เขียนเป็นลายลักอักษร วึ่งประมวลขึ้นจากจารีตประเพณีของพวกสุเมเรียนเดิมตลอดจนธรรมเนียมปฏิบัติของชนเผ่าเซมิติค เรียกว่า ประมวลกฏหมายฮัมบูราบี (the Code of Hammurabi) มีข้อบัญญัติต่างๆ รวมทั้งสิ้นเกือบ 300 ข้อ จารึกอยู่บนแท่งหินสีดำสูงประมาณ 8 ฟุต จารึกด้วยตัวอักษรคิวนิฟอร์ม ประมวลกฏหมายนี้ใช้หลักความคิดแบบแก้แค้นและตอบโต้อย่างตรงไปตรงมาที่เรียกว่า “ตาต่อตาฟันต่อฟัน” นอกจากนี้ยังว่าด้วยเรื่องต่างๆ ในการปฏิบัติต่อกันของคนในสังคม เช่น เรื่องการค้าขายและประกอบอาชีพ เรื่องทรัพย์สินที่ดิน เรื่องการกินอยู่ระหว่างสามีภรรยาและการหย่าร้าง เป็นต้น ประมวลกฏหมายฉบับนี้นับว่าเป็นหลักฐานทางวัฒนธรรมของมนุษย์ในความพยายามที่จะจัดระเบียบภายในสังคมที่มีคนเข้ามาอยู่รวมกันแล้ว นำระเบียบดังกล่าวเขียนลงไว้อย่างชัดเจน ประมวลกฏหมายฮัมมูราบีจึงเป็นประมวลกฏหมายที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งเหลือตกค้างมาจนถึงสมัยปัจจุบันซึ่งต่อมาได้สถาปนาจักวรรดิบาบิโรเนียขึ้น โดยมีนครบาบิโลน (Babylon) เป็นศูนย์กลางของจักวรรดิ จักพรรดิฮัมมูราบีทรงเป็นนักปกครองและนักบริหารที่ยอดเยี่ยมได้ทรงคิดค้นเครื่องมือที่จะช่วยสร้างความเป็นระเบียบและความยุติธรรมให้แก่ดินแดนทั่วทั้งจักวรรดิ เครื่องมือดังกล่าวนั้น คือกฏหมายที่เขียนเป็นลายลักอักษร วึ่งประมวลขึ้นจากจารีตประเพณีของพวกสุเมเรียนเดิมตลอดจนธรรมเนียมปฏิบัติของชนเผ่าเซมิติค เรียกว่า ประมวลกฏหมายฮัมบูราบี (the Code of Hammurabi) มีข้อบัญญัติต่างๆ รวมทั้งสิ้นเกือบ 300 ข้อ จารึกอยู่บนแท่งหินสีดำสูงประมาณ 8 ฟุต จารึกด้วยตัวอักษรคิวนิฟอร์ม ประมวลกฏหมายนี้ใช้หลักความคิดแบบแก้แค้นและตอบโต้อย่างตรงไปตรงมาที่เรียกว่า “ตาต่อตาฟันต่อฟัน” นอกจากนี้ยังว่าด้วยเรื่องต่างๆ ในการปฏิบัติต่อกันของคนในสังคม เช่น เรื่องการค้าขายและประกอบอาชีพ เรื่องทรัพย์สินที่ดิน เรื่องการกินอยู่ระหว่างสามีภรรยาและการหย่าร้าง เป็นต้น ประมวลกฏหมายฉบับนี้นับว่าเป็นหลักฐานทางวัฒนธรรมของมนุษย์ในความพยายามที่จะจัดระเบียบภายในสังคมที่มีคนเข้ามาอยู่รวมกันแล้ว นำระเบียบดังกล่าวเขียนลงไว้อย่างชัดเจน ประมวลกฏหมายฮัมมูราบีจึงเป็นประมวลกฏหมายที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งเหลือตกค้างมาจนถึงสมัยปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น